Support
bestdiamond
089-886-9940
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

งานตกแต่งผิวหน้าของโลหะ

sale.wkm@gmail.com | 10-02-2558 | เปิดดู 1326 | ความคิดเห็น 0

การตกแต่งผิวหน้าของโลหะ

 

ในการตกแต่งผิวหน้าของโลหะนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 กรรมวิธี

  • วิธีเปลี่ยนผิวหน้าของโลหะ
  • วิธีนำสารมาเคลือบ

กรรมวิธีเปลี่ยนผิวหน้าของโลหะ

จะมีอยู่ด้วยกันหลายกรรมวิธี เช่น

การขัดเงา : เป็นการทำให้ผิวหน้าของโลหะนั้นเกิดความเงางาม สะท้อนแสงเป็นประกายได้ดี โดยวิธีนั้นจะทำการขัดผิวให้เรียบ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้นั้น เช่น ล้อขัดผิว ซึ่งวัสดุที่เป็นวงล้อนั้นก็อาจจะเป็นวัสดุทองเหลือง หนัง หรือผ้า ลูกยางขัดเงา ซึ่งจะมีแกนสำหรับใส่ในปากสว่านใช้ในการปรับแต่งผิวงานไได้อย่างอิสระ และอาจจะใช้น้ำยาขัดเงาร่วมด้วยเพื่อเพิ่มความมันและวาววาม

การทำคาร์บูไรซิง : เป็นการเติมธาตุคาร์บอนลงไปบนผิวของชิ้นงาน โดยมากจะใช้กับผิวหน้าของเหล็ก เนื่องจากว่าเมื่อเหล็กได้รับความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 730 องศาเซลเซียส องค์ประกอบของโครงสร้างจะเปลี่ยนไปเป็น ออสเทนไนท์ ทำให้คาร์บอนสามารถที่จะซึมผ่านเนื้อเหล็กเข้าไปได้ และเมื่อนำเห็กที่ผ่านการเติมคาร์บอนแล้วไปทำการอบชุบด้วยความร้อน จะเป็นการเพิ่มคุณสมบัติทางด้านความแข็งให้กับผิวเหล็ก

ธาตุคาร์บอนไม่ได้ซึมเข้าไปในเนื้อเหล็กโดยตรง แต่จะเข้าไปโดยการแตกตัวของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ กลายเป็นอะตอมของคาร์บอน และก๊าซออกซิเจน ซึ่งแหล่งที่มีของก๊าซคาร์บอนมอนกไซด์ มีทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ

การทำไนไตรดิ้ง : เป็นการเติมธาตุไนโตรเจนเข้าไปในเนื้อเหล็ก เกิดเป็นสารประกอบของเหล็กไนไตรด์ FeN มีประโยชน์ในการชุบแม่พิมพ์ต่างๆ ที่ต้องการความลื่นที่ผิว เช่น แม่พิมพ์ดึงรูดขึ้นรูป กรรมวิธีนั้นจะจุ่มชิ้นงานที่เป็นเหล็กลงไปในเกลือไซยาไนด์ เช่น โซดียมไซยาไนด์ ที่ความร้อนประมาณ 370 องศาเซลเซียส และแช่ทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง เพื่อให้ไนโตรเจนซึมผ่านเข้าไปในผิวเหล็ก

การทำบอโรดิ้ง : จะมีลักษณะคล้ายกับการทำไนไตรดิ้ง เพียงแต่ใช้โบรอนเป็นธาตุที่แทรกเข้าไปในเนื้อของชิ้นงาน ทำให้ผิวงานมีความแข็ง และทนต่อแรงเสียดสีได้ดี

กรรมวิธีนำสารอื่นมาเคลือบ

การพ่นด้วยความร้อน : โดยการนำโลหะที่เป็นผงละเอียด มาพ่นรวมกับความร้อนลงบนผิวของชิ้นงาน ผงโลหะจะหลอมละลายและเกาะลงบนผิวของชิ้นงาน

การชุบโดยการจุ่มร้อน (Hot dip) : โดยการนำชิ้นงานที่ผ่านการทำความสะอาดมาอย่างดีแล้ว จุ่มลงในโลหะที่กำลังหลอมละลาย เช่น สังกะสี ดีบุก หรือตะกั่ว เป็นต้น เมื่อยกชิ้นงานขึ้นมาแล้วปล่อยให้เย็นตัว ก็จะได้โลหะดังกล่าวเคลือบอยู่บนผิวของชิ้นงาน แล้วจึงนำไปผ่านการขัดผิวให้เงางามต่อไป

การชุบเคลือบผิวด้วยไอกายภาพ (Physical vapour deposition) : เป็นการทำให้โลหะที่จะใช้ในการเคลือบผิวกลายเป็นไอแล้วไปเกาะที่ผิวของชิ้นงานโดยตรง ซึ่งจะเป้นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเพียงอย่างเดียว

การชุบด้วยไฟฟ้า : เป็นการนำโลหะมาเคลือบที่ผิวของชิ้นงาน โดยโลหะที่นำมาใช้จะต้องแตกต่างกับโลหะที่เป็นชิ้นงาน โดยหลักการจะอาศัยการผ่ีานกระแสไฟฟ้าลงในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ อิเล็คตรอนในกระแสไฟฟ้าจะทำให้ประจุโลหะกลายเป็นโลหะเกาะที่ผิวของชิ้นงานซึ่งเป็นประจุลบ

การชุบโลหะด้วยไฟฟ้ามีวัตถุประสงค์หลายประการด้วยกัน

  1. เพื่อป้องกันการผุกร่อน เช่น ชุบผิวด้วยทองแดง นิกเกิล โครเมียม ตามลำดับลงบนผิวของชิ้นงาน หรือชุบนิกเกิลกึ่งเงา นิกเกิลเงา โครเมียม ตามลำดับลงบนผิวของชิ้นงาน
  2. เพื่อความสวยงาม นิยมใช้ชุบเครื่องประดับ เช่น ชุบด้วยทองแดงหรือนิกเกิล เป็นการรองพื้น แล้วชุบเคลือบผิวด้วยทอง เงิน แพลตทินั่ม หรือโรเดียม
  3. เพื่อให้ได้ผิวที่มีคุณสมบัติพิเศษ : เช่น ชุบทองเพื่อป้องกันการออกซิไดซ์ ชุบขาวงจรรวม (IC) ด้วยดีบุกเพื่อความสะดวกในการบัดกรี หรือชุบด้วยแพลตทินั่มบนผิวหน้าสัมผัสทางไฟฟ้า เพื่อให้ชิ้นงานสามารถนำไฟฟ้าได้ดีขึ้น

การชุบโดยไม่ใช้ไฟฟ้า : เป็นกรรมวิธีการจุ่มชิ้นงานลงในสารเคมีซึ่งมีไอออนโลหะและรีดิวซิ่งเอเจนท์ ซึ่งจะทำปฏิกิริยาที่ผิวชิ้นงาน ทำให้มีโลหะมาเคลือบที่ผิวได้ ตัวอย่างเช่น การชุบนิกเกิลโดยไม่ใช้ไฟฟ้าบนพลาสติกเอบีเอส ชุบทองแดงโดยไม่ใช้ไฟฟ้าลงบนแผ่นวงจร เป็นต้น

 

ความคิดเห็น

วันที่: 09-06-2023

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0