การเจียรไน เป็นกรรมวิธีที่ใช้ในการปรับสภาพผิวของวัสดุให้ได้รูปทรงและขนาดตามที่ต้องการ เป็นการลำเลียงเอาเศษที่อยู่บนผิวของวัสดุออกไปที่ละน้อยโดยการขัดสี วัสดุที่ใช้ในการขัดสีนั้นจะถูกนำมาประกอบรวมกันเป็นวงล้อหิน ในการใช้งานก็จะใ้ช้มอเตอร์ในการขับล้อให้มีอัตราเร็วรอบสูง เมื่อนำไปสำผัสกับวัสดุก็จะเกิดการขัดสี ทำให้เนื้อวัสดุนั้นหลุดออกไป
วงล้อหินนั้นจะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบหลายรูปทรง ซึ่งถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับลักษณะงานให้มากที่สุด มีขนาดที่แตกต่างกันออกไป ทั้งวัสดุที่ใช้ในการผลิตก็มีความแตกต่างกัน เพื่อรองรับความแข็งของวัสดุแต่ละชนิด การเจียรไนจะมีลักษณะคล้ายกับการกัดผิวหรือปาดผิววัสดุ (Milling) เพียงแต่การเจียรไนนั้นจะเป็นการปาดผิวออกไปทีละน้อย และวงล้อในการหมุนจะต้องหมุนด้วยอัตราเร็วรอบที่สูงมาก อนุภาคของสารขัดสีที่เกาะตัวกันเป็นล้อหินจะทำหน้าที่เป็นฟันในการกัดผิววัสดุออกไป
หินเจียรไนนั้นจะมีความละเอียดอยู่ด้วยกันหลายเกรด ตั้งแต่ A กระทั่งถึง Z โดยเกรด A จะมีความแข็งน้อยที่สุด และเกรด Z จะมีความแข็งมากที่สุด และมีเกณฑ์การเลือกใช้งานดังนี้
เกรด A-F : ใช้กับโลหะคาร์ไบด์ และเหล็กกล้าคาร์บอนสูง, วัสดุจำพวกแก้วและกระจก, งานเจียรไนที่ต้องการเอาเนื้อวัสดุออกอย่างรวดเร็ว
เกรด G-P : ใช้กับเหล็กกล้าคาร์บอนที่ผ่านการชุบแข็ง
เกรด Q-S : ใช้กับโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก, งานเจียรไนที่ต้องใช้กำลังมาก
เกรด T-Z : ใช้กับโลหะที่ไม่ใช่เหล็กและมีเนื้อนิ่มมากหรืองานที่ต้องใช้อัตราเร็วรอบที่สูงมาก ๆ
หินเจียรไนที่มีความแข็งมากว่าจะสามารถควบคุมความแม่นยำของขนาดและรักษารูปทรงของชิ้นงานได้ดีกว่าหินเจียรไนที่นิ่มกว่า
วันที่: 09-06-2023
|
|
|